ข้อมูลผู้จัดการแข่งขัน
ประวัติบริษัท
วันก่อตั้ง :
1 มีนาคม 2529
ทุนจดทะเบียน :
40 ล้านบาท
จำนวนพนักงาน :
ประมาณ 400 คน (พฤษภาคม 2557)
สถานที่ก่อตั้ง :
เลขที่ 149 ถ.รถรางเก่า ต.สำโรงใต้ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 10130
โทรศัพท์ :
(02) 757-6111,384-4335 โทรสาร (02) 757-6222
ประธานกรรมการบริหาร :
มร.โยอิจิ มิซึทานิ
ลักษณะกิจการ :
บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด ผู้จัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้าในประเทศไทยที่ได้รับการแต่งตั้งจากฮอนด้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ เราคือผู้นำตลาดที่บุกเบิกเทคโนโลยีหัวฉีดประหยัดน้ำมันสมรรถนะสูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยหลากหลายรูปแบบเพื่อผู้ขับขี่ เช่นเดียวกับการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคมด้านต่างๆอย่างต่อเนื่อง จนได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งในประเทศไทยมากว่า 24 ปี (พ.ศ.2532-2555)

ประเภทรถจักรยานยนต์ แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ :

1. ประเภทรถครอบครัว (Family)
- ขนาด 110 C.C. ได้แก่ รุ่น WAVE110i, DREAM110i, SUPER CUB
- ขนาด 125 C.C. ได้แก่ รุ่น Wave125i
2. ประเภทรถเอ.ที. (AT)
- ขนาด 110 C.C. ได้แก่ รุ่น Zoomer-X, Scoopy i, Spacy i
- ขนาด 125 C.C. ได้แก่ รุ่น Click125i
- ขนาด 150 C.C. ได้แก่ รุ่น PCX150, SH150i
- ขนาด 300 C.C. ได้แก่ รุ่น Forza300
3. ประเภทรถสปอร์ต (Sports) ขนาด 125 C.C. ได้แก่ รุ่น MSX125
- ขนาด 150 C.C. ได้แก่ รุ่น CBR150R
- ขนาด 300 C.C. ได้แก่ รุ่น CBR300R
4. ประเภทรถออน-ออฟ (On-Off)
- ขนาด 250 C.C. ได้แก่ รุ่น CRF250L, CRF250M
5. ประเภทบิ๊กไบค์ (Big Bike)
- ขนาด 500 C.C. ได้แก่ CBR500R, CB500X, CB500F
- ขนาด 650 cc. ได้แก่ CBR650F, CB650F
- ขนาด 700 cc. ได้แก่ CTX700N
- ขนาด 750 cc. ได้แก่ NC750X, Integra S, NM4
- ขนาด 1,000 C.C. ได้แก่ CBR1000RR
- ขนาด 1,100 cc. ได้แก่ CB1100EX
- ขนาด 1,200 cc. ได้แก่ VFR1200F, VFR1200X Crosstourer
- ขนาด 1,300 cc. ได้แก่ CTX1300
- ขนาด 1,800 cc. ได้แก่ GOLDWING, GOLDWING F6B, GOLDWING F6C
ติดต่อบริษัท เอ.พี. ฮอนด้า

บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด
เลขที่ 149 ถ.รถรางเก่า ต.สำโรงใต้ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 10130
โทร. (02) 757-6111,384-4335 โทรสาร (02) 757-6222
e-mail : webmaster@aphonda.co.th

ปี 1948 ฮอนด้า เริ่มต้นความมุมานะบากบั่น ในการอุทิศตนเองเพื่อผลิตยวดยานพาหนะสำหรับทุก ๆ กลุ่มชนด้วยปรัชญาของฮอนด้าที่ว่า "เรามั่นอยู่ในสากลทัศนะที่ว่า เรามุ่งหน้า สร้าง แต่บรรดาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งยังมีราคายุติธรรม เพื่อความพึงพอใจของบรรดาลูกค้า อย่างกว้างขวางทั่วโลก" ปี 1964 นับเป็นครั้งแรกที่ฮอนด้า ก้าวเข้าสู่ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทย เพื่อสรรสร้างรถจักรยานยนต์ที่มีประสิทธิภาพ ให้กับผู้ใช้รถจักรยานยนต์ชาวไทย รวมถึงสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า ปี 1986 บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด ได้ถือกำเนิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นผู้จัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้าในประเทศไทย รวมทั้งดำเนินกิจกรรมทางด้านการตลาด ซึ่งในปัจจุบันบริษัทฯ ก้าวขึ้นเป็นผู้จัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ อันดับ 1 ของเมืองไทย และสิ่งนี้เป็นผลจากการทุ่มเท ความพยายามตลอดปลายปีที่ผ่านมา เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจจากประสิทธิภาพ รูปลักษณ์ และความน่าเชื่อถือในสินค้าฮอนด้า ด้วยความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็งและเอาใจใส่ ตลอดจนการบรรจุซึ่งกลยุทธ์ทางการตลาด ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถตอบสนองรถจักรยานยนต์รุ่นต่าง ๆ แก่ชาวไทยได้ตรงตามความต้องการ นอกเหนือจากนั้นบริษัทฯ ยังได้แสดงเจตจำนงค์อันแน่วแน่ ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อม เพื่อเกื้อหนุนสังคมไทยให้ดียิ่งขึ้น

เจตนารมย์

บริษัทฯ มีเจตนารมย์ที่จะตอบสนองผู้บริโภคด้วยรถจักรยานยนต์ที่มีประสิทธิภาพ และมีราคาเหมาะสม ซึ่งเจตนารมย์นี้ได้ผลักดันให้ฮอนด้าก้าวขึ้นสู่อันดับ 1 ของประเทศไทย ด้วยอัตราครองตลาดมากกว่า 70% หรือเป็นตัวเลขยอดจำหน่ายโดยรวมกว่า 1 ล้านคัน/ปี (รวมถึงการส่งออก)


สิ่งสำคัญที่สุดที่มุ่งมั่นอยู่ในเจตนารมย์ของฮอนด้านั้น ประกอบด้วยปรัชญาแห่งความพอใจ 3 ประการคือ
ความพอใจของลูกค้าจากการที่ได้ซื้อรถจักรยานยนต์ฮอนด้า
ความพอใจของลูกค้าจากการที่ได้ซื้อรถจักรยานยนต์ฮอนด้า และ
ความพอใจขององค์กร ในทุ่มเทการผลิตรถจักรยานยนต์ฮอนด้าให้เปี่ยมล้นด้วยคุณภาพ ซึ่งความพอใจทั้ง 3 ประการนี้ ต่างเชื่อมโยงและสนับสนุนซึ่งกันและกัน เสมือนกุญแจที่ไขไปสู่ความสำเร็จสูงสุด

การบรรลุซึ่งเป้าหมายของเรานั้นเป็นผลมาจาก เครือขายของศูนย์บริการและร้านตัวแทนจำหน่าย (C.S.I Shop) กว่า 800 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความชำนาญทั้งด้านการจัดการและการตลาด ที่ได้รับจากการอบรมและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยการสนับสนุนจากทางบริษัทฯ ซึ่งก่อให้เกิดความสำเร็จที่งดงามเช่นปัจจุบัน

ความรับผิดชอบ

เนื่องจากความต้องการในการที่จะเสนอสิ่งที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า สิ่งแรกในการเริ่มต้นคือ การสำรวจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า สิ่งนี้นำไปสู่ขบวนการสร้างสรรค์อันหลากหลาย ในการพัฒนาจักรยานยนต์ฮอนด้ารุ่น "ดรีม" รวมถึงรุ่น "โนวา" ซึ่งตรงกับความต้องการของลูกค้า และส่งผลให้ฮอนด้ามีรากฐานอันมั่นคงในประเทศไทย การจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้าไปยังทุก ๆ ภูมิภาค ในรูปแบบของร้าน C.S.I. Shop นั่นเป็นก้าวสำคัญในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า และด้วยร้าน C.S.I. Shop ที่มีมากกว่า 800 แห่งทั่วประเทศไทย ทำให้ลูกค้าสามารถสัมผัสกับรถจักรยานยนต์หลากรุ่น ชิ้นส่วนอะไหล่คุณภาพและบริการที่เป็นมิตร ซึ่งเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด และร้าน C.S.I. Shop ต่างประสานการดำเนินงาน ให้มุ่งไปสู่ทิศทางที่สอดคล้องในแผนงานหลาย ๆ ประการ ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดในการออกแบบ และประกอบรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ ๆ การบริหารสต๊อคชิ้นส่วนอะไหล่ ตลอดจนการสำรวนสภาพตลาดท้องถิ่น และด้วยผลของการสำรวจนี้เอง ทำให้บริษัทฯ สามารถแนะนำร้าน C.S.I. Shop ในการเลือกรุ่นและจำนวนของรถจักรยานยนต์ที่จะจัดเก็บไว้ในสต๊อคของทางร้าน รวมถึงการจัดเก็บจำนวนชิ้นส่วนอะไหล่ที่เหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อประกันความพึงพอใจของลูกค้า เราได้สร้างมาตรฐานในทุก ๆ ร้าน C.S.I. Shop ด้วยเงื่อนไข "5S" คือการขาย (Sale) การบริการ (Service) ชิ้นส่วนอะไหล่ (Spare parts) ความปลอดภัย (Safety) รถมือสอง (Secondhand)

การขาย (SALE)

ความประทับใจแรกพบนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้ารู้สึกสบาย และสนุกสนานกับการเยี่ยมร้าน C.S.I. Shop ของเรา ทางร้านจะเอื้ออำนวยลูกค้า ด้วยการบริการที่สุภาพอย่างมืออาชีพ ร้าน C.S.I. Shop จะตั้งอยู่ในสถานที่สัญจรไปมาสะดวก ตกแต่งสวยงาม สร้างบรรยากาศที่ดีในการต้อนรับลูกค้า พร้อมพนักงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในตัวสินค้า ซึ่งสามารถอธิบายสินค้าได้ในทุก ๆ รายละเอียด

การบริการ (SERVICE)

การบริการหลังจากการขาย เป็นส่วนประกอบหนึ่งในการสร้างพึงพอใจแก่ลูกค้า โดยสินค้าฮอนด้าจะมีการรับประกัน 3 ปี (เฉพาะเครื่องยนต์) ลูกค้าของเราจะได้รับบริการที่เป็นมิตร และเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ เรามีการบันทึกสถิติของการบริการ ทั้งนี้เพื่อป้องกันมีให้เกิดปัญหาเติมซ้ำอีกครั้งในอนาคต

ขับขี่ปลอดภัย (SAFETY RIDDING)

เพื่อมั่นใจว่าลูกค้าสามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัย บริษัทฯ จึงได้ขอความร่วมมือกับร้าน C.S.I. Shop เพื่อจัดกิจกรรมพิเศษ เช่น เซฟตี้ แรลลี่(Safety Rally) เพื่อเป็นการเรียนรู้ถึงหลักการขับขี่อย่างปลอดภัย นอกจากนั้นในทุก ครั้งที่มีการตัดสินใจซื้อจากลูกค้า ทางร้าน C.S.I. Shop จะมอบหมายให้ครูฝึกสอนขับขี่ปลอดภัยประจำร้าน ให้คำแนะนำเกี่ยวกับความรู้ในการขับขี่ปลอดภัยเบื้องต้น ก่อนจัดส่งรถแก่ลูกค้าเสมอ ครูฝึกสอนขับขี่ปลอดภัยของฮอนด้า ล้วนได้รับการฝึกฝน และรับรองโดยศูนย์ฝึกอบรมขับขี่ปลอดภัย ซึ่งศูนย์ฯนี้เป็นศูนย์ฝึกแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน โดยศูนย์ฯ แห่งนี้เป็นผลจากความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อที่จะเห็นความปลอดภัยบนท้องถนน เป้าหมายสำคัญของกิจกรรมที่ศูนย์ฯ จัดให้มีขึ้นนั้นคือ การเพิ่มจำนวนบุคลากรฝึกอบรมขับขี่ปลอดภัย เพื่อประจำยังร้าน C.S.I. Shop ทั่วประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ใช้ทุกท่านได้ยังทั่วถึง นอกจากนี้ศูนย์ฯ ยังได้ฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจและสาธารณชนทั่วไป สำหรับหลักสูตรในการฝึกอบรมนั้น มีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยบางหลักสูตรเป็นหลักสูตรอบรมระยะสั้น ซึ่งใช้เวลาฝึกอบรม 2 ชั่วโมง และบางหลักสูตรใช้เวลา 3 วัน ด้วยความทุ่มเทในการทำงานเกี่ยวกับความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทางบริษัทฯ ได้รับรางวัลจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ในการส่งเสริมกิจกรรมทางด้านการขับขี่ปลอดภัย เราพยายามอยู่เสมอ ที่จะปรับการฝึกอบรม ให้สอดคล้องต่อความต้องการของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ด้วยเหตุนี้เราจึงได้นำเครื่องจำลองการขับขี่มาประจำที่ศูนย์ฝึก ซึ่งนับได้ว่าศูนย์ฝึกในประเทศไทยนี้ เป็นศูนย์ฝึกแห่งแรกของโลก ที่มีการนำเครื่องจำลองการขับขี่มาใช้ นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่น

การอุทิศตนต่อสังคม

บริษัทฯ ได้อุทิศตนในการขับขี่ที่จะสร้างสิ่งที่ดีให้กับสังคมไทย ดังนั้นเราจึงพยายามทุกวิถีทางในการช่วยเหลือสังคม เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อม โดยบริษัทฯ ได้จัดให้มีการรณรงค์ใช้น้ำมันลดควันขาว รวมถึงการรณรงค์ลดมลภาวะทางเสียง กิจกรรมเซฟตี้ แรลลี่ การฝึกการขับขี่ปลอดภัย และกิจกรรมที่สร้างความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้แล้ว บริษัทฯ ยังได้เน้นกิจกรรมด้านอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้น วิจัย และพัฒนาประสิทธิภาพเครื่องยนต์ ให้มีการปล่อยค่าไอเสียต่ำและมีเสียงเครื่องยนต์ในระดับที่ต่ำ อีกทั้งยังมีการรีไซเคิลวัสดุต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต รวมถึงในร้าน C.S.I. Shop บางร้านได้มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดค่ามลพิษ และเสียงเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด

เป้าหมายในอนาคต

ฮอนด้า ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาและแนะนำนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าในอนาคต การสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ฮอนด้ายึดมั่น รวมทั้งยังคงมุ่งมั่นพัฒนาการขาย สร้างประสิทธิภาพในการบริการทั้งก่อนและหลังการขาย และค้นคว้าเพื่อเข้าถึงความต้องการอย่างแท้จริงของลูกค้า บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด เชื่อมั่นในระบบการจัดการแบบใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสาน รวมถึงการประยุกต์เพื่อนำมาซึ่งความเหมาะสม ดังนั้นเราจึงพยายามสร้างรูปแบบการจัดการที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการผสานวัฒนธรรมองค์กรระหว่างไทย และญี่ปุ่นเข้าด้วยกัน ความมุ่งมั่นของบริษัทฯ คือการได้รับการยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากบุคลากรภายในองค์กร ลูกค้า หรือแม้กระทั่งสังคม และเรายังปรารถนาให้ทุก ๆ คนรู้สึกถึงความสนุกสนานในการทำงานร่วมกัน

ข้อมูลจุดพลังฝัน
กำเนิดการแข่งขัน ฮอนด้าประหยัดเชื้อเพลิง ครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น

Honda Eco Mileage Challenge คือ การแข่งขันบนพื้นฐานแนวความคิดที่ว่า “น้ำมันหนึ่งลิตร จะสามารถวิ่งไปได้ไกลแค่ไหน”
โดยมีเป้าหมายให้ทุกคนได้สนุกสนานไปกับการประดิษฐ์ คิดค้น ทดสอบ ทดลอง พร้อมกับคำนึงถึงการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้มากยิ่งขึ้น

ในปี ค.ศ. 1981 ฮอนด้า ได้พัฒนารถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ล่าสุด “ฮอนด้า ซุปเปอร์คับ” ที่มีจุดเด่นในด้าน “การประหยัดพลังงาน” ขึ้น โดยมีอัตราประหยัดน้ำมันอยู่ที่ 180 กม./น้ำมัน 1 ลิตร เมื่อขับขี่ด้วยความเร็วคงที่ 30 กม./ชม. ทำให้ได้รับความสนใจ และเป็นที่กล่าวขานถึงเป็นอย่างมาก

ซึ่งในปี ค.ศ.1981 นี้เอง ฮอนด้าได้ริเริ่มจัดการแข่งขันฮอนด้าประหยัดเชื้อเพลิงขึ้นเป็นครั้งแรก ที่สนามซูซูก้า เซอร์กิต เมืองมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น โดยกำหนดให้ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 1 ลิตร ซึ่งสถิติสูงสุดในครั้งแรกคือ 292.50 กม./ลิตร จากนั้น การแข่งขันฯ ได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน พร้อมกับการพัฒนาสถิติที่ดีขึ้นเรื่อง ๆ ซึ่งวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นทั้งต่อผู้เข้าแข่งขัน และเครื่องยนต์จากอดีตถึง ปัจจุบัน คือ การสั่งสมความคิดและเทคโนโลยีที่มีคุณค่าอย่างต่อเนื่อง ด้วยจิตวิญญาณแห่งความท้าทาย (Challenging Spirit) ฮอนด้ายุงคงมุ่งมั่นให้ความสำคัญกับการแข่งขันฮอนด้าประหยัดน้ำมัน เพื่อร่วมจุดพลังฝัน สู่การเป็นวิศวกรคุณภาพ ที่มีจิตสำนึกรักษ์พลังงาน

การแข่งขันฮอนด้าประหยัดเชื้อเพลิง ในประเทศไทย

ด้วยแนวความคิดที่ว่า “พลังงานเชื้อเพลิงเป็นสิ่งมีค่า และ นับวันมีแต่จะหมดไป” ดังนั้น ถ้าเราสามารถประดิษฐ์ยานยนต์ ที่ประหยัดเชื้อเพลิงได้มากเท่าไร ก็จะสามารถชะลอการหมดไปของเชื้อเพลิงบนโลกได้มากเท่านั้นรวมทั้งยังช่วยลดมล ภาวะที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงได้อีกทางหนึ่ง

และด้วยความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้องโลก และเป็นองค์กรที่เป็นผู้นำในการคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ฮอนด้าได้บรรจุความมุ่งมั่นนี้เป็นนโยบายหลักในการดำเนินธุรกิจ และเพื่อที่จะมีส่วนร่วมในการ “จุดพลังฝัน” ให้กับ เยาวชนไทยที่เป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต สร้างสรรค์ยานยนต์ภายได้แนวคิดที่ว่า “พยายามอย่างเต็มความ สามารถในการประหยัดพลังงานธรรมชาติที่มีอยู่จำกัด และทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้ไกลที่สุด” ฮอนด้าจึงได้ทำการแข่ง ขันประหยัดเชื้อเพลิงขึ้นอย่างจริงจังในประเทศไทย เป็นประเทศที่ 2 รองจากประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2541 โดยความ ร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้เข้า แข่งขันทุกท่าน ที่จะได้เรียนรู้ทั้งเรื่องความสำคัญของเชื้อเพลิงแต่ละหยด ตลอดจนการได้เรียนรู้ความสำคัญของการทำ งานเป็นทีม ที่จะมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ คือ สิ่งที่ได้รับความสนใจ และ ชื่นชม มากกว่าผลการ แข่งขัน การแพ้ หรือ ชนะ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ฮอนด้ามุ่งหวังและปลาบปลื้มในฐานะผู้จัดการแข่งขัน

วัตถุประสงค์การแข่งขันฮอนด้าประหยัดเชื้อเพลิง
  • เพื่อส่งเสริมทักษะด้านวิศวกรรมยานยนต์ทั้งระบบ ทั้งในด้านวิศวกรรมยานยนต์และ ความ คิดสร้างสรรค์ให้แก่อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้มีการพัฒนาศักยภาพ ด้านความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์คิดค้น และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งในปัจจุบัน และ อนาคตได้
  • เพื่อเป็นการต่อยอดให้นักเรียน นักศึกษา ได้มีการเรียนรู้นอกห้องเรียน รู้จักใช้เวลาว่างให้ เป็นประโยชน์ การทำงานร่วมกันเป็นทีม มีความรับผิดชอบ และกล้าแสดงออกที่ถูกต้อง
  • เพื่อปลูกฝังและรณรงค์ให้เยาวชนมีจิตสำนึกเรื่องการลดใช้พลังงาน ตระหนักถึงสภาวะโลกและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
ประเภทการแข่งขัน มี 2 ประเภท
ประเภทรถประดิษฐ์

ประเภทรถประดิษฐ์ หมายถึง รถประดิษฐ์ขึ้นโดยสร้างตัวถังใหม่ รวมทั้งดัดแปลงเครื่องยนต์แตก ต่างจากรถจักรยานยนต์ทั่วไป โดยกำหนดให้เครื่องยนต์มีปริมาตรกระบอกสูบขนาด 109 – 115 ซีซี. ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้

1.1 รถประดิษฐ์ ระดับอาชีวศึกษาหรือต่ำกว่า (ระดับมัธยม/ปวช./ปวส.)
1.2 รถประดิษฐ์ ระดับอุดมศึกษารวมทั้งปทส.
1.3 รถประดิษฐ์ ระดับประชาชนทั่วไป

ประเภทรถตลาด

ประเภทรถตลาด หมายถึง รถจักรยานยนต์ฮอนด้าทั่วไปที่พบเห็นตามท้องถนน โดยนำมาดัด แปลงและพัฒนาบางส่วน ซึ่งในการแข่งขัน กำหนดให้ใช้รถจักรยานยนต์ฮอนด้า เวฟ 110 ไอ , ฮอนด้า ซีแซด ไอ หรือ ฮอนด้าดรีม เพียง 3 รุ่นเท่านั้น โดยมีปริมาตรกระบอกสูบขนาด 109 – 115 ซีซี